จารีตประเพณี

จารีตประเพณี

จารีตประเพณี คือ กฎเกณฑ์ แนวปฏิบัติ หรือแนวปฏิบัติที่ตกทอดมาตามกาลเวลาและเป็นที่ยอมรับของคนในสังคม กฎหมายมีต้นกำเนิดอยู่แล้วหรือได้รับการชี้นำโดยประเพณีเป็นเมืองหลวงดั้งเดิม จารีต คือ แต่วินัยในการกรอกช่องโหว่ทางกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 4 ต้องมีความสำคัญ

  • องเป็นที่ยอมรับและประพฤติปฏิบัติจากคนในสังคม
  • ความประพฤติต้องไม่ละเมิดกฎหมายภายในประเทศ หรือขัดต่อความสงบสุขของประเทศชาติหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนในสังคม
  • ศุลกากรต้องเป็นประเพณีท้องถิ่น ความหมายของประเพณีท้องถิ่นภายใต้กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ นั้นหมายถึงประเพณีประจำชาติของเราเอง
  • ประเพณีต้องสมเหตุสมผลและยุติธรรม

ระบบกฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ( Common Law System)

ระบบกฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษร    หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า  ระบบกฎหมายจารีตประเพณี     ที่มาของกฎหมายในระบบนี้ที่สำคัญคือ จารีตประเพณี  เนื่องจากประเทศอังกฤษเป็นต้นกำเนิดของระบบกฎหมายนี้ได้ยึดถือจารีตประเพณีเป็นหลักในการตัดสินคดี   ครั้นเมื่อตัดสินคดีไปแล้วย่อมกลายเป็นคําพิพากษา  ก็นำคำพิพากษานั้นมาใช้เป็นกฎหมาย   ขณะเดียวกันความเห็นของนักปราชญ์กฎหมายก็ใช้เป็นหลักในการตัดสินคดีด้วยโดยอาศัยความยุติธรรมเป็นพื้นฐาน    

นอกจากนี้นโยบายของรัฎฐาธิปัตย์ก็เป็นที่มาของกฎหมายด้วยเช่นเดียวกับความเชื่อในหลักศาสนา ซึ่งกฎหมายของบางประเทศก็ได้นําเอาหลักศาสนาเข้ามาบัญญัติไว้เป็นกฎหมายด้วย  จึงอาจกล่าวได้ว่าที่มาของกฎหมายในระบบกฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษรนั้น ได้แก่

รัฎฐาธิปัตย์

รัฎฐาธิปัตย์ หมายถึง ผู้มีอํานาจสูงสุดในการปกครองประเทศ   ในสมัยโบราณมนุษย์ยังรวมตัวกันในสังคมกลุ่มย่อย   หัวหน้าผู้บังคับบัญชา เช่น หัวหน้าหมู่หรือเผ่า จําต้องวางระเบียบกฎเกณฑ์ในสังคมในรูปของคําสั่งคําบัญชา หรือคําบังคับ    ต่อมาเมื่อสังคมเจริญขึ้นจนเป็นรัฐหรือประเทศ  รัฎฐาธิปัตย์ก็คือพระมหากษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ส่วนระบอบประชาธิปไตย รัฎฐาธิปัตย์ก็คือ ประชาชนซึ่งสามารถแสดงออกถึงอํานาจของตนโดยผ่านกระบวนการทางรัฐสภา   ดังนั้น รัฎฐาธิปัตย์จึงเป็นที่มาของกฎหมายในฐานะเป็นผู้บริหารและผู้ปกครองประเทศให้อยู่ในความสงบสุข

จารีตประเพณี

จารีตประเพณี หมายถึง แบบแผนที่ชุมชนยอมรับนับถือและปฏิบัติกันมาเป็นเวลานานเสมือนเป็นกฎหมาย กล่าวคือ เมื่อชนรุ่นแรกปฏิบัติกันมาอย่างไร ชนรุ่นหลังก็จะปฏิบัติตามกันมานานวันเข้าประชาชนทั้งหลายในชุมชนต่างก็ยอมรับนับถือกัน    รัฐเองก็เห็นถึงความสําคัญของประเพณีที่สืบทอดกันมาดังกล่าว  ทั้งนี้เพราะหากรัฐจะวางระเบียบข้อบังคับที่ขัดแย้งกับประเพณี ประชาชนทั้งหลายก็จะไม่ยอมรับ   ดังนั้นรัฐจึงนําเอาจารีตประเพณีมาวางเป็นหลักกฎหมาย   แต่จารีตประเพณีนั้นจะต้องไม่ขัดต่อกฎหมาย  ความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนด้วย  และจะต้องถือปฏิบัติมาเป็นเวลานาน ซึ่งบุคคลทั่วไปในสังคมยอมรับและปฏิบัติตาม

ศาสนา  

ศาสนาเป็นกฎข้อบังคับที่เกิดจากความเชื่อถือของมนุษย์  โดยมุ่งจะปฏิบัติแต่สิ่งที่เป็นคุณงามความดี  ศาสนาทั้งหลายต่างก็มีหลักเกณฑ์และคําสอนที่คล้ายคลึงกัน  กล่าวคือ ละเว้นการกระทำความชั่ว ประพฤติแต่ความดี  ขณะเดียวกันกฎหมายเองก็ประสงค์จะไม่ให้บุคคลประพฤติผิด  เช่นกัน   ดังนั้นเพื่อไม่ให้เป็นการขัดแย้งกับความเชื่อถือทางศาสนาหรือในพระผู้เป็นเจ้าที่มนุษย์ให้ความเคารพศรัทธา   กฎหมายจึงนําหลักเกณฑ์บางประการของศาสนามากําหนดไว้เป็นความผิด  และกําหนดบทลงโทษไว้  เช่น กฎหมายของประเทศที่นับถือศาสนาอิสลาม  ฮินดู  เป็นต้น

ความยุติธรรม    

กฎหมายที่ดีต้องมีความยุติธรรมเป็นสําคัญ  นักกฎหมายบางท่านเห็นว่าความยุติธรรมกับกฎหมายเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันแยกกันไม่ออก ความยุติธรรมเป็นสิ่งที่คนส่วนมากจะมองไปในแนวทางเดียวกันว่าสิ่งใดถูกสิ่งใดผิด  การที่ความยุติธรรมเข้ามามีบทบาทในฐานะที่มาของกฎหมายนั้นสืบเนื่องจากความคิดทางกฎหมายของอังกฤษ   แต่เดิมการใช้กฎหมายของประเทศอังกฤษถือหลักจารีต ประเพณีและคำพิพากษาของศาลที่วางไว้เป็นบรรทัดฐาน

ความคิดเห็นของนักปราชญ์กฎหมาย

นักปราชญ์กฎหมาย คือ นักนิติศาสตร์ ซึ่งแสดงออกซึ่งความคิดเห็นต่อแนวทางของกฎหมาย และเป็นผู้สนใจใฝ่รู้และค้นคว้าวิจัยศึกษาถึงกระบวนการของกฎหมาย  นักนิติศาสตร์เหล่านี้ได้แสดงออกซึ่งข้อคิดเห็นและข้อโต้แย้งอันมีต่อตัวบทกฎหมาย คําวินิจฉัยหรือคําพิพากษาของศาล   ความคิดเห็นบางเรื่องเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางจนในที่สุดรัฐได้นำมาบัญญัติหรือแก้ไข ตัวบทกฎหมายต่างๆ  ตัวอย่างเช่น  ในประวัติศาสตร์ประเทศไทยตามหลักฐานที่ปรากฏ  

เมื่อครั้งการประกาศใช้กฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ. 127  การถืออาวุธในถนนหลวงไม่มีข้อบัญญัติให้ลงโทษได้   พระบิดาแห่งกฎหมายไทย กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์   ได้ทรงเขียนความเห็นและคําอธิบายเรื่องอาวุธในถนนหลวงว่าควรมีข้อบัญญัติห้าม   ต่อมารัฐจึงได้ประกาศแก้ไขเพิ่มเติมในกฎหมายลักษณะอาญาดังกล่าวตามที่ได้ทรงทําความเห็นไว้   จนกระทั่งปัจจุบันก็ยังเป็นข้อห้ามที่ปรากฏอยู่ในประมวลกฎหมายอาญา  มาตรา 371   ดังนี้ จึงเป็นเครื่องชี้ให้เห็นว่าความคิดเห็นของนักปราชญ์กฎหมายเป็นที่มาของกฎหมายได้เช่นกัน

คําพิพากษาของศาล

ประเทศอังกฤษเป็นแม่แบบของระบบกฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษร  ซึ่งไม่มีตัวบทกฎหมายลายลักษณ์อักษรเป็นหลัก  เมื่อผู้พิพากษาได้นําเอาจารีตประเพณีมาเป็นหลักในการตัดสินคดีแล้ว  ผลของคําพิพากษาที่ศาลได้พิพากษาไปแล้วจึงกลายเป็นหลักที่ศาลจะต้องยึดถือในคดีต่อๆ  ไป หากคดีที่เกิดขึ้นภายหลังมีข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสําคัญเหมือนคดีที่เคยตัดสินไปแล้ว  ศาลย่อมนําคําพิพากษาในคดีก่อนมาตัดสินคดีหลังให้ผลคดีออกมาเช่นเดียวกัน ซึ่งกฎหมายของอังกฤษจะถือเป็นหลักเกณฑ์ว่าคําพิพากษาของศาลสูงเป็นกฎหมายที่ยึดถือกันตลอดมา